1. ความหมายของปรัชญา

1.1 ปรัชญาคืออะไร

1.1.1 ความหมายของคำ Philosophyตามรากศัพท์คำว่า “Philosophy” มาจากคำว่า Philosophia” (เป็นคำภาษากรีกโบราณ) ซึ่งมาจากคำ “Philia” (แปลว่า ผู้รัก“) และ Sopia” (แปลว่าความปราดเปรื่อง“)

ดัง นั้น คำว่า Philosophia” (Philosophy) จึงแปลว่า ความรักในปรีชาญาณ” (Love of wisdom) เนื่องจากชาวกรีกโบราณมักเรียกตัวพวกเขาว่า Wise menเช่น Pythagoras (ราวปี 510 – 500 ก่อน ค.ศ.) ต้องการให้เรียกท่านว่าLover of wisdomหรือ Philosopherนี่จึงเป็นที่มาของคำ Philosophyซึ่งในสมัยต่อมา นักบุญโทมัส อาไควนัส (ค.ศ. 1225 – 1274) ก็ใช้คำว่า Philosophy มาแทนคำว่า Wisdom

สรุปแล้วคำว่า Philosophyตามความหมายของภาษา คือ ความรักความปราดเปรื่อง ความปรารถนาจะเป็นปราชญ์ นั่นคือ การรู้ว่าตัวเองไม่ฉลาด แต่อยากฉลาด

1.1.2 ความหมายของคำ ปรัชญา” (ภาษาไทย) คำ ว่า ปรัชญามีที่มาจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ (พระองค์วรรณ) อดีตราชบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา เป็นผู้แปลศัพท์คำว่า Philosophy เป็นคำว่า ปรัชญาโดยใช้รากศัพท์จากภาษาสันสกฤตว่า ชฺญา” (รู้/เข้าใจ) เติมอุปสรรค ปฺร เป็น ปฺรชฺญา รวมแปลว่าความปราดเปรื่องหรือความรอบรู้

ดังนั้น คำว่า ปรัชญา” (ภาษาไทย) จึงแปลว่า ความรอบรู้ปราดเปรื่องซึ่งเป็นความหมายในเชิงอวดตัว (ไม่เหมือนคำ Philosophy ซึ่งแสดงถึงความถ่อมตน) ความหมายของคำ ปรัชญาจึงไม่ตรงกับภาษาอังกฤษ/กรีก (Philosophy/Philosopia) มากนัก

1.1.3 ข้อสังเกตเกี่ยวกับนิยามของคำว่า ปรัชญาแม้ว่าไม่อาจนิยามความหมายของ ปรัชญาได้ตรง หรือได้มติทางการ/สากล เราบอกได้เพียงแต่ว่าปรัชญามีลักษณะอย่างไร แต่จะให้นิยามตายตัวเหมือนศาสตร์อื่น ๆ เช่น ศาสนาหรือวิทยาศาสตร์ ฯลฯ คงไม่ได้

1.1.4 คำ “Philosophy” สะท้อนถึงอะไร จากนิยามของคำว่า “Philosophy” แสดงถึงคุณลักษณะของมนุษย์ ว่าเป็นสัตว์ที่มีคุณสมบัติพิเศษ คือ มีสติปัญญา (Intellectual) กล่าวคือ

มนุษย์ เป็นสัตว์ ต้องการอาหาร (เหมือนสัตว์) เพื่อบำรุงเลี้ยงร่างกาย แต่มนุษย์มีสติปัญญา มีความปรารถนาที่จะรู้ความจริง เพื่อตอบคำถาม อะไรและ ทำไม” (Desire to know – Truth, What + why) เกี่ยวกับสาเหตุของเหตุการณ์และสิ่งที่เกิดขึ้น (Cause of event and happening) รอบตัว

มนุษย์จึงหาคำตอบที่ พอคิด/หาเหตุผลได้เพื่อได้คำตอบ (What) และเหตุผล (Why)

1.1.5 สรุปความหมายของ ปรัชญาสรุปความหมายของปรัชญาได้ว่า
ก. ปรัชญา คือ การแสวงหาความจริง อาศัยเหตุผล
ข. ปรัชญาคือการค้นพบความรู้เกี่ยวกับ ความจริงซึ่งเป็นความรู้ที่อยู่เหนือความรู้ตามกฎเกณฑ์ที่ตายตัว และเป็นความรู้ที่มีลักษณะเป็น ศิลป์และเป็นความรู้ในฐานะศาสตร์พิเศษของมนุษย์

1.2 เรียนปรัชญาไปทำไม

1.2.1 ถ้าเรียนเพื่อใช้ประกอบอาชีพ อาชีพ นักปรัชญาคงตกงาน

1.2.2 ถ้าถามคนทั่วไป นอกจากจะไม่ได้คำตอบแล้ว เรายัง (อาจ) ได้คำถามเพิ่มเติมอีกว่าปรัชญาคืออะไร ไม่เคยได้ยิน ไม่เคยรู้จัก หรือเคยได้ยิน แต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร

1.2.3 เสนอแนะให้เริ่มต้น ด้วยการพิจารณาตัวอย่างขององค์กรที่นำปรัชญามาช่วยจัดระบบความคิด และอธิบายคำสอน จากร่องรอยในประวัติศาสตร์ พบว่ามีหลายองค์กร ที่นำปรัชญามาช่วยจัดระบบ และอธิบายคำสอนที่สำคัญองค์กรหนึ่ง ได้แก่ ศาสนาคริสต์ โดยเฉพาะตัวอย่างที่มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรที่มีพัฒนาสู่ปัจจุบัน จากประมวลกฎหมายพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก ค.ศ. 1983 ในบรรพที่ 2 ว่าด้วยเรื่องประชากรของพระเจ้า หมวดการอบรมผู้เตรียมเป็นศาสนบริกร (สมณะ) มีการกล่าวถึงการศึกษาวิชาปรัชญาในสองมาตราที่สำคัญ คือ

ก. ประมวลกฎหมายพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก ค.ศ. 1983 มาตรา 250 ระบุ ว่าต้องศึกษาวิชาปรัชญาและเทววิทยา อย่างน้อย 6 ปี (ปรัชญา อย่างน้อย 2 ปี และศึกษาวิชาเทววิทยาอีก 4 ปี) เพื่อเตรียมเป็นศาสนบริกร (บาทหลวง)

ข. ประมวลกฎหมายพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก ค.ศ. 1983 มาตรา 251 ยัง ระบุต่ออีกว่าการให้การศึกษาอบรมวิชาปรัชญาต้องมีพื้นฐานบนปรัชญาที่เป็นมรดกตกทอดกันมา ที่ใช้ได้อยู่ตลอดเวลา และต้องคำนึงถึงการค้นคว้าทางปรัชญาแห่งยุคสมัยด้วย การศึกษาอบรมนี้ต้องมุ่งให้เสมินาร์  (Seminarian, ผู้เตรียมตัวเป็นบาทหลวง) มีการพัฒนาทางด้านความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ มีสติปัญญาเฉียบแหลมและช่วยเขาให้มีความพร้อมมากขึ้นที่จะศึกษาเทวิทยาต่อ ไป

จากตัวอย่างของประมวลกฎหมายพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก แสดงให้เห็นว่า พระศาสนจักรโรมันคาทอลิก (โดยเฉพาะผู้นำ และนักวิชาการในศาสนาคริสต์) ซึ่งมีประสบการณ์ในการนำปรัชญามาช่วยจัดระบบและอธิบายคำสอนในคริสต์ศาสนามา ตั้งแต่ยุคแรก ยุคกลาง สืบจนยุคสมัยปัจจุบัน ให้ความสำคัญต่อการศึกษาวิชาปรัชญา เพื่อการพัฒนาสติปัญญาของผู้รับการอบรมสู่การเป็นบาทหลวง (สมณะ) ดังนั้น จากแนวทางของประมวลกฎหมายพระศาสนจักรโรมันคาทอลิก ค.ศ. 1983 จึงเป็นแนวทางให้สรุปได้ว่า เรียนปรัชญาเพื่อ คิดให้เป็น วิเคราะห์ได้ แก้ปัญหา (อธิบายความเชื่อ) ได้ แบบ มนุษย์

แหล่งที่มา: http://franciswut01.blogspot.com/

 

Bình luận về bài viết này